การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ควรป้องกันก่อนการเกิดโรคและควรควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ
🧠 โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular Disease) หรือ สโตรก (Stroke)
กลุ่มของโรคและความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดกับหลอดเลือดในสมอง และระบบหลอดเลือดสมอง
✹ อาการของโรคในกลุ่มนี้ที่เป็นที่รู้จักมากที่สุดคือโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน (stroke) ทั้งภาวะสมองขาดเลือดเฉียบพลัน (ischemic stroke), สมองขาดเลือดชั่วคราว และเลือดออกในสมองเฉียบพลัน (hemorrhagic stroke)
✹ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองและโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลันคือโรคความดันเลือดสูง ซึ่งมีผลต่อโครงสร้างของหลอดเลือด ทำให้เกิดหลอดเลือดแข็งขึ้นมาได้ ภาวะหลอดเลือดแข็งจะทำให้หลอดเลือดตีบแคบลง ทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองได้ลดลง
✹ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองเฉียบพลัน เช่น การสูบบุหรี่ และโรคเบาหวาน หลอดเลือดสมองที่ตีบแคบลงอาจทำให้เกิดสมองขาดเลือดเฉียบพลันตามมาได้ หากเป็นต่อเนื่องยาวนานร่วมกับการมีความดันเลือดที่สูงอาจทำให้เกิดการฉีกขาดของหลอดเลือด เป็นเลือดออกในสมองเฉียบพลันได้ ไขมันคลอเรสเตอรอลสูง โรคอ้วน ทานอาหารที่มีไขมันมาก รสเค็ม ดื่มสุราในปริมาณมาก ใช้สารเสพติด
✹ สาเหตุการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง หรือ สโตรก
สาเหตุหลักของการเกิดโรคหลอดเลือดสมองมี 3 ประเภท สาเหตุแรกคือหลอดเลือดเกิดตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke) และหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) ในผู้ป่วยบางรายจะมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient Ischemic Attack) นำมาก่อน
✧ ภาวะหลอดเลือดสมองตีบหรืออุดตัน (Ischemic stroke) พบได้บ่อยถึง 85% ของโรคหลอดเลือดสมอง สาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่
✧ ภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) พบได้ประมาณ 15% ของโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจัยดังต่อไปนี้อาจเพิ่มความเสี่ยงในเกิดภาวะหลอดเลือดสมองแตก
✧ ภาวะความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้
✧ การได้รับการรักษาด้วยยาต้านการแข็งตัวของเลือด (anticoagulant) ที่มากเกินความจำเป็น
✧ โรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง (cerebral aneurysm or arteriovenous malformation)
✧ การบาดเจ็บ อุบัติเหตุ
✧ มีโปรตีนสะสมผิดปกติในผนังหลอดเลือด (cerebral amyloidosis)
✧ ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient ischemic attack - TIA) คืออาการโรคหลอดเลือดสมอง แต่อาการเป็นไม่นาน (24 ชั่วโมง) แล้วอาการดีขึ้นได้เอง สาเหตุของ TIA เกิดจากสมองมีเลือดไปเลี้ยงไม่พอเป็นระยะเวลาชั่วคราว ส่วนใหญ่จะมีอาการ 5-15 นาที แล้วอาการดีขึ้นเอง
🎯 อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยควรทำการพบแพทย์ทันทีเพื่อทำการตรวจแยกระหว่างโรคหลอดเลือดสมอง และภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ
✹ ลักษณะอาการของสโตรก หรืออาการโรคหลอดเลือดสมอง
การสังเกตลักษณะอาการมีความสำคัญมาก หากตัวผู้ป่วยหรือคนใกล้ชิดมีอาการดังต่อไปนี้หรือไม่ เพราะอาจเป็นสัญญาณของโรคหลอดเลือดสมองได้
✧ พูดไม่ชัด พูดไม่ได้หรือไม่สามารถเข้าใจคำพูดของคนอื่น ผู้ป่วยจะรู้สึกสับสน มึนงง พูดไม่ชัด หรือมีปัญหาในการทำความเข้าใจสิ่งที่คนอื่นพูด
✧ อาการอ่อนแรง (อัมพฤกษ์/อัมพาต) หรือชาบริเวณหน้า แขน ขา ผู้ป่วยจะเกิดอาการอ่อนแรงหรือชาอย่างเฉียบพลัน บริเวณ หน้า แขนหรือขา โดยส่วนใหญ่แล้วอาการจะเกิดกับร่างกายแค่ด้านเดียว ร่วมกับอาการปากเบี้ยว พูดไม่ชัดหรือพูดไม่ได้
✧ ปัญหาด้านการมองเห็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง ผู้ป่วยจะเกิดอาการตามัวแบบเฉียบพลัน หรือเห็นภาพซ้อน
✧ เวียนศีรษะ/ปวดศีรษะ อาการรุนแรงแบบเฉียบพลัน มักจะพบร่วมกับอาการอื่น ๆ เช่น ปัญหาด้านการเดินเซ การทรงตัวผิดปกติ หรือซึมลง (Altered Consciousness) มึนศีรษะ อาการคลื่นไส้อาเจียน
🎯 ผู้ป่วยควรพบแพทย์ทันที หากพบอาการคล้ายคลึงกับโรคหลอดเลือดสมอง ถึงแม้ว่าอาการเหล่านั้นจะเกิดขึ้นเป็นระยะ ๆ และหายไป ผู้ป่วยควรปฏิบัติตามแนวทางของ “FAST”
✹ F (Face) ใบหน้า - ให้ผู้ป่วยพยายามยิ้ม แล้วสังเกตว่ามีอาการปากเบี้ยวหรือไม่?
✹ A (Arm) แขน - ให้ผู้ป่วยพยายามยกแขนขึ้นทั้งสองข้าง เหนีอศรีษะ แล้วสังเกตว่าแขนข้างใดข้างหนึ่งตกไม่มีแรง ต่างจากอีกข้างหนึ่งชัดเจน?
✹ S (Speech) คำพูด - ถามคำถามง่าย ๆ ที่ผู้ป่วยน่าจะตอบได้ ฟังเสียงผู้ป่วยและความหมายในการ แล้วลองสังเกตว่าเสียงผู้ป่วยพูดไม่ชัดหรือไม่?
✹ T (Time) ระยะเวลา - หากเกิดอาการเหล่านี้ ควรพบแพทย์ทันที
🎯 แนวทางการป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
การป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง ควรป้องกันก่อนการเกิดโรคและควรควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจทำให้เกิดอาการ ตีบ อุดตัน หรือแตก
✦ ปรับระดับความดันโลหิตให้อยู่ในระดับปกติ ✦ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีคลอเรสเตอรอลและไขมันอิ่มตัวสูง ✦ เลิกสูบบุหรี่ ✦ ควบคุมอาการของโรคเบาหวาน ✦ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ✦ รับประทานผลไม้และผักให้มากยิ่งขึ้น ✦ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ✦ ลดการดื่มสุรา ✦ เข้ารับการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ✦ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด
☯︎ เพื่อสุขภาพที่ดีของท่าน อย่าลืมใส่ใจดูแลสุขภาพ
✨ เราสามารถดูแลสุขภาพ ป้องกัน ลดความเสี่ยง โรคหลอดเลือดสมอง ได้ด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ดูแลสมอง🧠ได้ดี เพิ่มสารสื่อประสาทแห่งความสุข เพิ่มประสิทธิภาพสมาธิ เสริมความจำ ความคิด ลดความเครียด ความกังวลจากการใช้สมอง ทำงานหนัก บำรุงสมอง ทางเลือกหนึ่งที่อาจช่วยสุขภาพสมองคุณได้
◉ อาหาร สารอาหาร วิตามิน อาหารเสริม (อาหารสุขภาพที่แนะนำจะไม่รบกวนกับยาละลายลิ่มเลือดใดๆ ทั้งสิ้น สามารถรับประทานร่วมกันได้โดยปลอดภัย)▼👀▼
✔️โคลีนและวิตามิน บี (Choline Bitartrate&Vitamin B) / (โคลีน บี Choline-B) ✔️สารสกัดจากบาโคพา พรมมิ (Bacopa monnieri) / (BACOPA)
✔️สารสกัดจากขมิ้นชัน (Turmeric) / (Curcuma C-E) ✔️สารสกัดจากจมูกข้าว (Rice Germ Oil) / (ORYZA-E) ✔️โพลิโคซานอล (Cosanol Multi Plant Omega 3 Oil) ✔️ALA ทางเลือกในการเสริมโอเมก้า 3 จากพืช 5 ชนิด (ALA Multi Plants Omega 3 Plus) ✔️ไบโอ ซี วิตามินซีที่ทุกคนควรมีติดบ้าน (Bio C 1000 mg)
✔️แมกนีเซียม ✔️มะรุม (Marum-C)
◉ อาหาร สารอาหาร วิตามิน อาหารเสริม ที่มีประโยชน์ มีส่วนเกี่ยวข้อง (ในกรณีที่ไม่ทานยาละลายลิ่มเลือดหรือต้านเกล็ดเลือด สามารถเลือกรับประทานเพิ่มเติมเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น)▼👀▼
✔️น้ำมันปลาดีเอชเอสูง (Fish Oil) ✔️สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkgo biloba) / จิงโกลา [Ginkola] ✔️โคเอนไซม์คิวเทน (Coenzyme Q10 [CoQ10]) / (Co-Q10 MAXX) ✔️ขิง (Ginger-C)