Health Tips Health CARE เคล็ดลับสุขภาพดี
        เราสามารถ ป้องกันดูแลสุขภาพโรคหัวใจและหลอดเลือด ได้ด้วย สารอาหารที่มีประโยชน์ อาหารเพื่อสุขภาพแนะนำ ทางเลือกหนึ่งที่อาจลดความเสี่ยงโรคหัวใจและหลอดเลือดได้...
💔โรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular Disease, CVD)
        ☛เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากความผิดปกติของหัวใจ หรือหลอดเลือด ได้แก่ โรคหลอดเลือดหัวใจ (coronary heart disease) โรคหลอดเลือดสมอง (cerebrovascular disease) โรคเส้นเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (peripheral artery disease) ภาวะหลอดเลือดดำอุดตัน (deep vein thrombosis) และภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด (pulmonary embolism) เป็นต้น

💖หัวใจ
        เป็นอวัยวะกล้ามเนื้อซึ่งสูบเลือดทั่วหลอดเลือดไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย หัวใจมนุษย์ปกติเต้น 72 ครั้งต่อนาที ซึ่งจะเต้นประมาณ 2,500 ล้านครั้งในช่วงอายุเฉลี่ย 66 ปี และสูบเลือดประมาณ 4.7-5.7 ลิตรต่อนาที หนักประมาณ 250 ถึง 300 กรัมในหญิง และ 300 ถึง 350 กรัมในชาย

ღღ เส้นเลือดที่หล่อเลี้ยงหัวใจ มี 2 เส้นหลัก ได้แก่
        1. เส้นเลือดหัวใจด้านขวา
        2. เส้นเลือดหัวใจด้านซ้าย ซึ่งแตกแขนงใหญ่ออกเป็น 2 แขนง คือ

            ➤ แขนงซ้ายที่อ้อมไปด้านหลัง (Left circumflex artery)
            ➤ แขนงซ้ายที่มาด้านหน้า (Left anterior descending artery)
💓หน้าที่หลักของหัวใจ
        คือการสูบฉีดเลือดผ่านระบบไหลเวียนเพื่อไปเลี้ยงร่างกายทั้งร่าง การไหลเวียนนี้แบ่งออกเป็นการไหลเวียนเลี้ยงกายที่ส่งเลือดไปเลี้ยงร่างกายและรับเลือดที่ใช้แล้วกลับ และการไหลเวียนผ่านปอด ซึ่งส่งเลือดไปฟอกที่ปอดและรับเลือดกลับจากปอดมาหัวใจเพื่อเตรียมสูบฉีดต่อไปยังร่างกาย ขณะที่เลือดไหลเวียนผ่านปอดจะมีการแลกเปลี่ยนก๊าซ รับเอาออกซิเจนเข้ามาในเลือด และส่งคาร์บอนไดออกไซด์ออกไปยังปอดผ่านการหายใจ หลังจากนั้นระบบไหลเวียนกายจะส่งเลือดแดงที่มีออกซิเจนมากไปยังร่างกาย และรับเลือดดำที่มีคาร์บอนไดออกไซด์มากและมีออกซิเจนน้อยกลับมายังปอด
💔อาการของโรคหัวใจ
        ☛อาการเจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก บริเวณอกข้างซ้ายหรือกลางอก เหมือนมีคนมากดทับ ถือเป็นอาการหลักของหลอดเลือดหัวใจตีบ และอาการมักจะเป็นมากขึ้นเมื่อทำงาน ออกกำลังกาย หรือมีอาการตื่นเต้น รวมไปถึงอาการหอบ เหนื่อยง่าย เหนื่อยมากเมื่อออกแรง บางรายที่รุนแรงอาจหมดสติ หรือหัวใจหยุดเต้น
        ➢ ใจสั่น เป็นลมวูบ หมดสติ
        ➢ ขาบวม มักเป็นตอนสายๆ เกิดจากหัวใจข้างขวาทำงานลดลง ทำให้การไหลเวียนเลือดที่ขาไม่ดี
        🩺หากมีอาการเหล่านี้ควรรีบเข้ามาพบแพทย์เพื่อตรวจและรักษาโดยด่วน ซึ่งภาวะหลอดเลือดหัวใจตีบ แม้เป็นโรคที่อันตราย แต่สามารถดูแลป้องกันได้ เพียงรู้เท่าทัน

ภาวะแทรกซ้อน
        ➢ หัวใจล้มเหลว (Congestive Heart Failure) เกิดจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงได้ทั่วร่างกาย ทำให้เกิดการคั่งของเลือดที่หัวใจ ปอด และอวัยวะต่างๆ
        ➢ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของระดับกระแสไฟฟ้าในหัวใจเนื่องจากความเสียหายของหัวใจ
        ➢ ลิ้นหัวใจรั่ว
        ➢ หลอดเลือดสมองอุดตัน ทำให้เป็นอัมพาต

ผู้ที่มีโอกาส!! ปัจจัยเสี่ยง
💔โรคหัวใจ หรือ Heart Disease
ปัจจัยเสี่ยงหลัก
        ☛ไขมันในเลือดสูง ผู้ที่มีระดับไขมัน LDL คอเลสเตอรอลในเลือดสูง ไขมันทำให้ผนังหลอดเลือดหนาตัวขึ้นและหลอดเลือดตีบแคบลง เลือดไหลเวียนน้อยลง ในที่สุดหลอดเลือดหัวใจก็อุดตันและเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตาย
        ☛ความดันโลหิตสูง ผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลานานหลายปี ทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้นเพื่อสูบฉีดเลือดมาเลี้ยงร่างกาย กล้ามเนื้อหัวใจจะหนาขึ้น หัวใจจะโตขึ้น หลอดเลือดตีบแข็งและอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจตาย และนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวในที่สุด
        ☛ผู้ที่สูบบุหรี่ สารที่อยู่ภายในบุหรี่จะทำให้เซลล์ที่เยื่อบุผนังหลอดเลือดเสื่อม ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน ซึ่งนำไปสู่สภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย
ปัจจัยเสี่ยงรอง
        ☛ผู้ชายที่อายุมากกว่า 40 ปี และ ผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี
        ☛มีประวัติในครอบครัว
        ☛เป็นโรคเบาหวาน ทำให้หลอดเลือดที่ไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ เสื่อมลง
        ☛ขาดการออกกำลังกาย การออกกำลังกายเป็นประจำช่วยป้องกันโรคหลอดเลือดและหัวใจได้ และยังช่วยควบคุมปัจจัยความเสี่ยงอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิต ระดับไขมันคอเลสเตอรอลในเลือด เบาหวาน และน้ำหนักที่มากเกินหรืออ้วน
        ☛น้ำหนักเกินมาตรฐาน คนอ้วน ผู้ที่มีดัชนีมวลกายตั้งแต่ 30 กิโลกรัม / ส่วนสูง (เมตร)2 ถือว่ามีความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดและหัวใจ โดยสามารถคำนวณดัชนีมวลกายได้จากน้ำหนักตัว (หน่วยเป็นกิโลกรัม) หารด้วยส่วนสูง (หน่วยเป็นเมตร) ยกกำลัง 2
        ☛ผู้หญิงวัยหมดประจำเดือน
        ☛ภาวะเครียด ผู้ที่มีความเครียดเรื้อรัง
        ☛กินอาหารไม่มีประโยชน์
การรักษา 🩺
การรักษาตามอาการ
        ➢ ให้ยาตามอาการโรค เช่น ยาขยายหลอดเลือด ยาละลายลิ่มเลือด ยาลดอัตราการเต้นของหัวใจ ยาลดระดับไขมันในเลือด ยาลดความดันเลือด และยาขับปัสสาวะในกรณีมีภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นต้น
การขยายหลอดเลือดที่ตีบตันโดยการไม่ผ่าตัด
        ➢ การผ่านสายสวน (Percutaneous Coronary Intervention) โดยใช้บอลลูน (Balloon Angioplasty) หรือ ขดลวด (Stent)
การรักษาโดยการผ่าตัด
        ➢ การทำบายพาส (Coronary Artery Bypass Graft)
การป้องกัน
        ➢ ควบคุมระดับไขมัน และน้ำตาลในเลือด
        ➢ หลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ
        ➢ หมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ
        ➢ ทำจิตใจให้สบายไม่เครียด
        ➢ ควบคุมน้ำหนัก
        ➢ รับประทานอาหารให้หลากหลาย ครบหมู่ และสมดุล
#ไม่อยากหัวใจอ่อนแอ!!
เราสามารถดูแลสุขภาพ ป้องกัน ลดความเสี่ยง โรคหัวใจ ได้ด้วยสารอาหารที่มีประโยชน์ ☛☛☛
อาหาร สารอาหาร วิตามิน อาหารเสริม
        ✔️น้ำมันจมูกข้าว (ORYZA-E) ✔️ไฟโต วิต (PHYTO VITT) ✔️ทับทิม (Granada) ✔️น้ำทับทิม ✔️แอสตาแซนธิน (Astaxanthin) ✔️วิตามินรวมและแร่ธาตุ (Supraa Vit M-W ชาย-หญิง) ✔️โคลีนและวิตามิน บี ✔️งาดำ (SESAME-S) ✔️น้ำมันเมล็ดงาขี้ม่อน น้ำมันเมล็ดแฟลกซ์ น้ำมันงา โพลิโคซานอล (Cosanol Multi Plant Omega 3 Oil) ✔️โอเมก้า 3 จากพืช 5 ชนิด ALA Multi Plants Omega 3 Plus ✔️สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkola) ✔️โสม (3G Ginseng โสม 3 สายพันธุ์) ✔️กระเทียม (Garlicine) ✔️น้ำมันปลา (Fish Oil) ✔️ขิง (Ginger-C) ✔️เห็ดหลินจือ (LING ZHI) ✔️เจียวกู่หลาน (JIAOGULAN 250) ✔️ขมิ้นชัน (CURCUMA C-E) ✔️สารสกัดจากชาเขียว (EGCG) ✔️สารสกัดจากเปลือกองุ่นแดง เรสเวอราทอล (RES ZANOL) ✔️โคเอนไซม์ คิวเทน (Co-Q10 MAXX) ✔️ถั่งเช่า (CHONG CAO) ✔️ALA ทางเลือกในการเสริมโอเมก้า 3 จากพืช 5 ชนิด (ALA Multi Plants Omega 3 Plus) ✔️ไบโอ ซี วิตามินซีที่ทุกคนควรมีติดบ้าน (Bio C 1000 mg)

◎➢ อาหารสุขภาพที่ ห้ามในผู้ป่วยภาวะโรคหัวใจ ที่รับประทานยาในกลุ่มต้านการแข็งตัวของเลือด รวมทั้งยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือดใดๆ ซึ่งมักจะได้รับเสมอในผู้ป่วยโรคหัวใจ
        ✔️สารสกัดจากใบแปะก๊วย (Ginkola) ✔️โสม (3G Ginseng) ✔️กระเทียม (Garlicine) ✔️น้ำมันปลา (Fish Oil) ✔️ขิง (Ginger-C) ✔️เห็ดหลินจือ (LING ZHI) ✔️เจียวกู่หลาน (JIAOGULAN 250) ✔️ขมิ้นชัน (CURCUMA C-E) ✔️สารสกัดจากชาเขียว (EGCG) ✔️สารสกัดจากเปลือกองุ่นแดง เรสเวอราทอล (RES ZANOL) ✔️โคเอนไซม์ คิวเทน (Co-Q10 MAXX) ✔️ถั่งเช่า (CHONG CAO)
โอรีซา อี นํ้ามันจมูกข้าว นํ้ามันรำข้าวผสมนํ้ามันจมูกข้าวสาลี 👀คลิกที่รูป
ไฟโต วิต [PHYTO VITT] สารสกัดจากผักและผลไม้รวม 👀คลิกที่รูป
กรานาดา สารสกัดจากทับทิม 1 เม็ดมีคุณภาพเทียบเท่าน้ำทับทิม 30 ซีซี  👀คลิกที่รูป
แอสตาแซนธิน สารสกัดสาหร่ายฮีมาโตคอกคัส พลูวิเอลิส 👀คลิกที่รูป
ลดความเสี่ยง หัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจขาดเลือด 👀
ไบโอ ซี 1000 มก วิตามินซีที่ทุกคนควรมีติดบ้าน (30 เม็ด) 👀คลิกที่รูป▼
ไบโอ ซี 1000 มก วิตามินซีที่ทุกคนควรมีติดบ้าน (60 เม็ด) 👀คลิกที่รูป▼
📖เรียนรู้เกี่ยวกับ โรค NCDs โรคที่เราสร้างเองอื่นๆ 👀คลิกที่รูป▼
Contact
ติดต่อ สอบถาม สั่งซื้อ
แตะคลิกที่ ปุ่มโทร หรือ ปุ่มไลน์
หรือกรอกรายละเอียด ข้อมูล
ที่แบบฟอร์มด้านล่างแล้วกดส่งถึงเรา
🤠 CHAIWAT maximize
WEB design & Health Advisor
📞 tel:0624975450
LINE ID: CHAIWATmaximizer
Email: [email protected]

Visit 21484 
Presented by healthytips-healthcare.com
  โทร   สอบถาม