ไขมันเกาะตับ ไขมันพอกตับ (Fatty Liver)

ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver) หมายถึง ภาวะที่มีการสะสมของไขมัน ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ Triglyceride ในเซลล์ตับ กล่าวคือมีปริมาณน้ำตาลส่วนเกินในร่างกายมากเกินความต้องการจนตับนำไปสร้างเป็นไขมัน (Lipogenesis)


◉ ทราบหรือไม่ว่า?
➤ 30% ของคนทั่วไปมีภาวะไขมันพอกตับ (ศึกษาโภชนาการตรวจเนื้อเยื่อ)
✱ Hepatology, 2003; 37(5); 1209-1219
➤ 40% ของผู้มีภาวะไขมันพอกตับ จะกลายเป็นโรคเบาหวาน
✱ Gastroenterology and Hepatology, 2007; 22; 1794-800
➤ 80% ของผู้ป่วยเบาหวานมีภาวะไขมันพอกตับ และมีโอกาสเสียชีวิตจากโรคตับแข็งสูงกว่าเสียชีวิตจากโรคหัวใจด้วยสัดส่วน 2.7 : 1.8
✱ Hepatology, 2003; 37(5); 1209-1219
➤ 70% ของคนอ้วนจะมีภาวะไขมันพอกตับ และมีความเสี่ยงต่อภาวะตับอักเสบและตับแข็ง
✱ Hepatology, 2003; 37(5); 1209-1219
➤ 95% ของคนอ้วนที่ดื่มสุราจะภาวะไขมันพอกตับ และมีโอกาสเสี่ยงสูงที่จะเป็นตับอักเสบและตับแข็ง

✱ QJM: monthly journal of the Association of Physicians, 11/2003; 96(10); 699-709.
◉ ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย
ตับทำหน้าที่สำคัญหลายประการ ทั้งช่วยคัดกรองสารพิษที่เข้าสู่ร่างกาย สร้างน้ำดี ผลิตฮอร์โมนหลายชนิด ควบคุมการเผาผลาญ และอีกสารพัดหน้าที่
➤ เมื่อใดก็ตามที่ตับทำงานไม่เป็นปกติ โรคภัยต่างๆ จะมารุมคุณทันที เช่น โรคตับ ไขมันพอกตับ ตับอักเสบ ตับแข็ง และการที่ตับอ่อนแอ จะเกิดอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร ภูมิต้านทานต่ำ ขาดโปรตีน บวม เลือดออกง่าย แผลหายช้า น้ำตาลในเลือดสูงหรือต่ำกว่าปกติ ไขมันในเลือดสูง ท้องมาน อาการทางสมอง ไตวาย หัวใจวาย และส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของร่างกายในทุกระบบ อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากขึ้น...


◉ ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver) หมายถึง
ภาวะที่มีการสะสมของไขมัน
ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ Triglyceride ในเซลล์ตับ กล่าวคือมีปริมาณน้ำตาลส่วนเกินในร่างกายมากเกินความต้องการจนตับนำไปสร้างเป็นไขมัน (Lipogenesis)
◉ ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคตับ...
ที่สำคัญที่สุด คือการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รองลงไป คือการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ ที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบได้หลายชนิด ที่พบบ่อย คือ ไวรัสตับอักเสบ เอ ไวรัสตับอักเสบ บี และไวรัสตับอักเสบ ซี
◎ ปัจจัยเสี่ยงและสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคตับอื่นๆ เช่น...
        ➣ การติดเชื้ออื่นๆ นอกเหนือจากเชื้อไวรัส เช่น ติดเชื้อแบคทีเรีย (เช่น ฝีตับ/Liver abscess ) ติดเชื้อรา ติดเชื้อสัตว์เซลล์เดียว เช่น ฝีตับมีตัว (Amoebic liver abscess) และโรคพยาธิใบไม้ตับ (Liver fluke) ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งตับชนิดเกิดจากท่อน้ำดีในตับ
        ➣ โรคอ้วน โรคไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจ และโรคเบาหวาน
        ➣ ผลข้างเคียงจากยาบางชนิด (เช่น ยาบางชนิดที่ใช้รักษาวัณโรค หรือจากยาพาราเซตามอล/Paracetamol)
        ➣ โรคมะเร็ง ทั้งชนิดที่เกิดจากเซลล์ตับเอง (โรคมะเร็งตับ) และจากโรคมะเร็งของอวัยวะอื่นๆที่แพร่กระจายมาตับ
        ➣ ผู้ที่ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารพิษ และสารเคมีต่างๆ โดยไม่รู้จักการป้องกัน
        ➣ ผู้ที่ได้รับเลือดจากผู้ป่วยที่เป็นโรคตับอักเสบ บี หรือ ไวรัสตับอักเสบ ซี ผู้ที่ทำงานที่ต้องสัมผัสกับ เลือด สารคัดหลั่ง หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้อื่น
        ➣ การกินอาหารที่ขาดสุขอนามัย (เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ เอ)
        ➣ การสำส่อนทางเพศ (เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ไวรัสตับอักเสบ บี)
        ➣ การสักตามร่างกาย หรือ เจาะร่างกายจากแหล่งบริการที่ไม่สะอาดพอ
        ➣ ชอบกินสมุนไพร หรือเห็ดแปลกๆ
        ➣ โรคออโตอิมมูน/โรคภูมิต้านตนเอง
        ➣ พันธุกรรม เป็นโรคที่พบได้น้อยมาก และมักพบเกิดตั้งแต่เป็นเด็ก


◉ การป้องกันภาวะไขมันพอกตับ
        ➣ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์สมส่วน ลดน้ำหนักโดยการควบคุมปริมาณและคุณภาพอาหาร​ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง (High Fat) เช่น นม เนย ไอศกรีม เค้ก ชีส กะทิ อาหารทะเล ไข่แดง และเนื่องจาก Triglyceride เป็นตัวสำคัญที่สะสมคั่งในตับก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่รับประทานอาหารที่มีแป้งและน้ำตาลมากเกินไปด้วยเช่นกัน  
        ➣ เพิ่มผักผลไม้สด ถั่ว และธัญพืชที่มีเมล็ด เช่น เมล็ดดอกทานตะวัน (Sunflower Seed) เมล็ด ฟักทอง (Pumpkin Seed) งา (Sesame Seed) นอกจากนี้การรับประทานผักบางชนิดยังสามารถช่วยเร่งกระบวนการกำจัดพิษออกจากตับ (Detoxification) ได้ เช่น ผักตระกูลบรอกโคลี กะหล่ำ กระเทียม และหัวหอม
        ➣ แนะนำให้รับประทานเนื้อที่ไม่ติดมัน เช่น เนื้อปลา
        ➣ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมัน หรือคาร์โบไฮเดรตจำนวนมาก เน้นทานไขมันที่มีคุณค่าทางอาหารสูง เช่น น้ำมันมะกอก (Olive Oil) อะโวคาโด (Avocado) น้ำมันปลาโอเมก้า3 (Omega 3 Fish Oil)
        ➣ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
        ➣ การใช้ยาเพื่อรักษาโรคตับจากไขมันเกาะตับ ยังมีข้อมูลไม่มาก อย่างไรก็ตามพบว่าสมุนไพรและอาหารเสริมบางชนิดทำหน้าที่ช่วยขับสารพิษออกจากตับได้ เช่น Milk Thistle,  Alpha Lipoic Acid (ALA), N-Acetyl-l-Cysteine (NAC)/NAC เป็นสารตั้งต้นของ Glutathione ซึ่งเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญมากที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ช่วยขับพิษออกจากตับ นอกจากนี้ Vitamin B และแมกนีเซียม (Magnesium) ยังมีคุณสมบัติในการช่วยเยียวยาและกระตุ้นการซ่อมแซมเซลล์ตับที่เสียหายอีกด้วย
        ➣ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
        ➣ ผู้ป่วยที่เป็นเบาหวาน หรือภาวะไขมันในเลือดสูงควรควบคุมโรคดังกล่าวอย่างเต็มที่
✌ ฉะนั้นก่อนที่จะตกอยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อโรคตับ ตับอักเสบ เราควรบำรุงดูแลตับให้แข็งแรง ใส่ใจพฤติกรรมการบริโภคของตัวเองด้วย เช่น หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดความเสี่ยงโรคตับแข็ง ลดอาหารประเภทไขมัน และลดกินเค็ม เพื่อไม่ให้ตับต้องเสี่ยงต่อภาวะไขมันสะสม


➤ ทางเลือกหนึ่งที่จะสามารถเสริมกำลังให้ตับแข็งแรงได้...
◉ อาหารเพื่อสุขภาพไขมันเกาะตับ

        ✔โคลีนและวิตามิน บี (Choline Bitartrate&Vitamin B)

        ✔สารสกัดจากงาดำ ผสมข้าวกล้องหอมนิลงอก (Sesamin &  GABA)

        ✔เลซิติน ฟอสฟาทิดิลโคลีนสูง ผสมแคโรทีนอยด์ธรรมชาติ 4 ชนิด และวิตามิน อี

        ✔สารสกัดจากเจียวกู่หลาน (Jiaogulan Extract)

        ✔น้ำมันปลา (Fish Oil)

        ✔ถั่งเช่าสายพันธุ์ทิเบตแท้ (Chong cao - ผู้ชาย)

        ✔ถั่งเช่าสายพันธุ์ทิเบตแท้ (Chong cao - ผู้หญิง)

        ✔FOLIC ACID วิตามินซี, บี1, บี6, บี12

        ✔ เวย์โปรตีน ➣ ไฮ เวย์ มารีน ดริ้งก์



   Latest article




View all ...